วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว

                                         

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ ด.ญ. ถนอมวรรณ เกื้อสม  ชื่อเล่น น้ำฝน

วัน/เดือน/ปี เกิด    23 กรกฎาคม 2544

เลขที่ 31 ชั้น  ม.1/4  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ส่วนสูง 159 เซนติเมตร น้ำหนัก 50 กิโลกรัม

สัตว์ที่ชอบ แมว

Facebook  ถนอมวรรณ เกื้อสม



















วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำภายใน

     
      หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) คือ เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1)  หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

2) หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

      
      หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) คือ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง สาเหตุที่เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพราะคอมพิวเตอร์หรือซีพียูจะเรียกใช้ข้อมูลจากแรม ที่เป็นหน่วยเก็บข้อมูลหลักก่อน และหากข้อมูลที่ต้องการไม่มีในแรม ก็จะทำการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองไปเก็บไว้ที่แรมก่อน ทั้งนี้เพราะหน่วยเก็บข้อมูลหลัก สามารถทำงานติดต่อกับซีพียูได้ด้วยความรวดเร็วกว่าหน่วยความจำสำรอง   แต่หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง มีข้อดีคือ สามารถจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ได้ แม้ว่าจะปิดเครื่อง และเก็บข้อมูลได้มากกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก

หน่วยแสดงผล

  
     หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1)           หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง

2)           หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น

หน่วยความจำหลัก

     
      หน่วยความจำหลัก (Memory Unit) คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งเราก็เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก ( Primary Storage ) หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
     1) หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า รอม ( ROM ) คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งเหล่านี้จะเก็บไว้ในในชิป ชื่อ ROM BIOS ( Basic Input/Output System ) เนื่องจากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ถึงแม้ว่าเราจะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่มีการสูญหาย แต่ข้อเสียของรอมคือไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง และมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม

      2) หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ หรือที่เรียกว่า แรม ( Ram ) หมายถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำนี้โปรเซสเซอร์จะทำงานไม่ได้ เนื่องจากว่าหน่วยความจำแรมเป็นที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงาน เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูง ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากก็สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งโปรแกรมต่างๆ ได้ทั้งหมด โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก

หน่วยรับข้อมูล




      หน่วยรับข้อมูล(Input Unit) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่ง นั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

กระบวนการทำงาน


       กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน